BTU-DEEP JOURNAL BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY
ก. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าจะไม่มีการบิดเบือนข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยและบทความวิชาการ มีการผลการวิจัยอย่างเป็นจริง
2. ต้องมีความซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณในการดำเนินงานวิจัย การเขียนรายงานผลการวิจัย การเขียนบทความวิชาการ
3. หากมีผลงานของผู้อื่นปรากฏอยู่ในงานของตน ผู้นิพนธ์มีหน้าที่ต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานนั้นๆ
4. ผู้นิพนธ์ห้ามคัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
5. ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตน และรับรองว่าผลงานไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใด
6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
ข. หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร
1. บรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ดังนี้
1.1 ดำเนินการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้นิพนธ์และผู้อ่าน
1.2 รับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
1.3 ตรวจสอบความถูกต้องของผลงานทางวิชาการก่อนการตีพิมพ์
1.4 ต้องปรับปรุงคุณภาพวารสารอย่างสม่ำเสมอ
1.5 สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางบทความที่พิมพ์ในวารสาร
1.6 เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดถอนบทความ และการขออภัยหากเกิดความผิดพลาด
1.7 ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาของบทความที่ตีพิมพ์
2. บทบาทบรรณาธิการ มีดังต่อไปนี้
2.1 พิจารณาคัดเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยพิจารณาให้เนื้อหาบทความสอดคล้องกับนโยบายของวารสาร
2.2 อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน ผู้ประเมินบทความ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3 ดำเนินงานวารสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ปรับปรุง และพัฒนาวารสารให้ได้มาตรฐานางวิชาการ
2.4 ตรวจสอบบทความเพื่อหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน (plagiarism) และการนำบทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นแล้วมาเสนอเพื่อคัดกรองการตีพิมพ์ซ้ำ
2.5 ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ในระหว่างการประเมินคุณภาพบทความ
3. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์
3.1 ตัดสินใจต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ตามความสำคัญ ความรู้ใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
3.2 ทำการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) และพร้อมที่จะชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
3.3 ดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และตระหนักว่าวารสาร และแต่ละส่วนของวารสาร มีวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่ต่างกัน
3.4 จัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง ในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ และปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3.5 เปิดช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
4. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ
4.1 จัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง และปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4.2 จัดระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นกรณีการประเมินบทความแบบเปิดที่ได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินรับทราบล่วงหน้า
5. การร้องเรียน
5.1 มีการตอบกลับคำร้องเรียนอย่างรวดเร็ว
5.2 แสดงให้ผู้ร้องเรียนมั่นใจได้ว่าสามารถร้องเรียนได้อีกหากยังไม่พอใจ
6. การสนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ
6.1 หาหลักฐานเพื่อให้มั่นใจว่างานวิจัยทุกเรื่องที่จะตีพิมพ์นั้นได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะบุคคลที่มีอำนาจ (เช่น คณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัยของสถาบัน เป็นต้น)
6.2 สร้างความมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
7. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
7.1 ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับ เช่น ข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินคุณภาพรายงานหรือบทความ
8. การติดตามการประพฤติมิชอบ
8.1 สร้างความมั่นใจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วยหลักเหตุและผล
8.2 ติดตามหาข้อเท็จจริงของบทความวิจัยที่ถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบ
8.3 บรรณาธิการทำหน้าที่ติดตามการประพฤติมิชอบในกรณีเกิดข้อสงสัย ทั้งบทความวิจัยที่ได้รับและไม่ได้รับการตีพิมพ์
8.4 แสวงหาคำตอบจากบุคคลผู้ถูกกล่าวหาก่อน แต่หากยังไม่พอใจต่อคำตอบ ก็ทำการสอบถามผู้บังคับบัญชาหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง
9. การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
9.1 หากปรากฏการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจน
9.2 เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน
10. ประเด็นพิจารณาที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
10.1 ไม่ตีพิมพ์การโฆษณาที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และต้องยินดีที่จะตีพิมพ์คำวิจารณ์ต่างๆ ทั้งนี้ให้ยึดถือเกณฑ์เดียวกันกับการพิจารณาส่วนต่างๆ ของวารสาร
11. ผลประโยชน์ทับซ้อน
11.1 สร้างระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน (การขัดกันด้านผลประโยชน์) ของบรรณาธิการเองรวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
11.2 กำหนดให้การร้องเรียนบรรณาธิการวารสารนั้น ต้องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อบรรณาธิการโดยตรง
ค. บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับ ผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
2. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
3. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับของบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการประเมินแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
4. หากผู้ประเมินบทความพบว่าบทความที่ประเมินมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่มีความเหมือนหรือความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย