วารสารศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

BTU-DEEP JOURNAL BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY

ขั้นตอนการจัดทำวารสารศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

แนวทางการเตรียมต้นฉบับ

วารสารศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

ประเภทบทความ

            1. บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ต ประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข

2. บทความวิจัย หมายถึง เป็นการนาเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย

 

การเตรียมต้นฉบับ

1. พิมพ์ผลงานทางวิชาการ โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ บน 3.0 ซม. ซ้าย 3.5 ซม. ล่าง 2.0 ซม. ขวา 2.0 ซม. ใช้อักษร TH Sarabun New ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ตัวหนา ขนาด 16 ชื่อผู้นิพนธ์และรายละเอียดผู้นิพนธ์ ขนาด 12 เนื้อหาใช้ตัวปกติ ขนาด 14 ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่นี้บทความ 1 เรื่องจะต้องมีจำนวนหน้าไม่น้อยกว่า 7 หน้า แต่ไม่เกิน 14 หน้ากระดาษ A4

2. บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ จะต้องมีคำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และ Keyword ในบทคัดย่อภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 5 คำ (บทความภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และภาอังกฤษทุกบทความ)

3. ถ้ามีรูปภาพ / ตารางประกอบ ควรเป็นภาพที่ชัดเจน ถ้าเป็นรูปถ่ายควรมีภาพถ่ายจริงแนบด้วย

4. ผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยที่ผ่านมา ต้องไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณา ของวารสารฉบับอื่น หารตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

5. การส่งต้นฉบับบทความ จะต้องส่งบทความ และแบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ผ่านระบบออนไลน์ ทาง E-mail: [email protected] ซึ่งบทความที่มีรายละเอียดครบถ้วนจะได้รับการนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ ต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ

 

รูปแบบการเขียนอ้างอิง

            กรณีที่ผู้เขียนต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in-text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และต้องนำไปรวบรวมไว้ในส่วนบรรณานุกรม โดยเรียงรายการตามลำดับอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายใต้หัวข้อ “เอกสารและสิ่งอ้างอิง” และใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psycho-logical Association) ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ต่อไปนี้

 

1. บรรณานุกรมหนังสือ

            ชื่อ – ชื่อสกุล. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์

            ตัวอย่าง

กาญจณา คุณารักษ์. (2558). พื้นฐานพัฒนาหลักสูตร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนมจันทร์: กรุงเทพมหานคร.

Gardner, H. (1998). Multiple Intelligence: Theory in Practice. New York: Basic Books.

 

2. บรรณานุกรมบทความ

ชื่อ – ชื่อสกุลผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อ ชื่อสกุล (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์ หน้าแรก – หน้าสุดท้ายของบทหรือ ตอน). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

            ตัวอย่าง

James, N. E. (1988). Two sides of paradise: The Eden myth according to Kirk and Spock. In D. Palumbo (Ed.), Spectrum of the fantastic (pp. 219-223) Westport, CT: Greenwood.

กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร. (2519). “สังคมตะวันตกและวิวัฒนาการภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน อารยะธรรมตะวันตก (หน้า 335). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คัมภีร์.

 

3. บรรณานุกรมบทความวารสาร

ชื่อ-ชื่อสกุล. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร. ตัวอย่าง

Lee, L. T. and Sukoco, B. M. (2007). The Effects of Entrepreneurial Orientation and Knowledge Management Capability on Organizational Effectiveness in Taiwan: The Moderation Role of Social Capital. International Journal of Management, 24 (3), 549-566.

อุมาพร สุขม่วง และ นพเก้า เอกอุ่น. (2552). “แนวทางการฝึกอบรมตามมาตรฐาน ISO 10015.” วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 57 (179), 14-17.

 

4. บรรณานุกรมออนไลน์

ชื่อผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ / หน่วยงาน / บุคคล. (ปีที่ปรากฏ). ชื่อบทความ. ค้นเมื่อวัน เดือน ปี, จาก http: / /…

ตัวอย่าง

Lesley University. (2005). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April 28, 2006, from http://lesley.edu/library/guide/citation.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2553). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ค้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553, จาก: http://home.dsd.go.th/kamphaengphet/km/information/
WBI/03Multimedia.pdf.

 

5. บรรณานุกรมฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อ - ชื่อสกุล. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), ค้นเมื่อวัน เดือน ปี, จาก (ชื่อฐานข้อมูล)

ตัวอย่าง

Mershon, D. H. (1998). Star trek on the brain: Alien minds, human minds. American Scientist, 86(6), 585. Retrieved July 29, 1999, from Expanded Academic ASAP database.

 

6. บรรณานุกรมบทความจากการสืบค้น CD-ROM

ชื่อ - ชื่อสกุล. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ (ชื่อ CD ROM). ค้นเมื่อวัน เดือน ปี, จาก (ชื่อฐานข้อมูลที่สืบค้น). หมายเลขเอกสารที่สืบค้น

ตัวอย่าง

Baker, J. (2008). Acceptability of interventions to staff in long-terms case setting for older adults: Comparing rating. (Doctoral Dissertation). Retrieved November 26, 2009, from ProQuest Dissertation & Theses databases. (Publication No. AAT3354064)