About Us


วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนนักวิชาการอิสระ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ต่อบุคคล สังคม และประเทศชาติ โดยครอบคลุมสาขาวิชานิติศาสตร์ ดุริยางคศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ด้านการเมือง การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ ด้านการตลาด การจัดการ บัญชี การเงินการธนาคาร ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจต่างประเทศ การจัดการโลจิสติกส์ ศึกษาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน การศึกษาปฐมวัย และนิเทศศาสตร์ ด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์และศิลปะการแสดง เป็นต้น

ประเภทของบทความ
          - บทความวิจัย ที่มีลักษณะและรูปแบบการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น การตั้งสมมุติฐานโดยระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ได้ทดลองค้นคว้าอย่างมีระบบและสรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
          - บทความวิชาการ 
ในเชิงวิเคราะห์หรือวิจารณ์ และเสนอแนวคิดใหม่บนพื้นฐานวิชาการ อันก่อเกิดองค์ความรู้หรือสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์

ภาษาที่รับตีพิมพ์
          - ภาษาไทย
          - 
ภาษาอังกฤษ

กระบวนการ Review
          - บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณภาพก่อนการตีพิมพ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ
          -
ใช้การประเมินแบบไม่เห็นกันทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน (Double-Blinded)

นโยบายในการตีพิมพ์ผลงานในวารสาร
ผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “แนวทางการเตรียมต้นฉบับ”
2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่นำเสนอไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณา ของวารสารฉบับอื่น
3. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นหากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิง
ท้ายบทความ
ผู้ประเมิน
1. ผู้ประเมินบทความ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
2. หากมีส่วนหนึ่งของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ผู้ประเมินจะต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ
3. หากผู้ประเมินบทความตระหนักว่า ตัวเองอาจมีผลประโยชน์กับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือเหตุผลอื่น ที่ทำให้
ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินต้องปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
บรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน


คณะที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล    อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยา เบ็ญจาธิกุล   รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

บรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์  นิยมญาติ         
กองบรรณาธิการ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน

ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล   มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ ดร.ปทีป เมธาคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ สำเรียง เมฆเกรียงไกร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ     ข้าราชการบำนาญ
Professor Emeritus Dr. Terry E. miller Kent State University

ผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา รุ่งเรือง      ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กาญจนา คุณารักษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.พีรพงศ์ ทิพนาค    

ฝ่ายกฎหมาย

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสงี่ยม  บุษบาบาน  

ฝ่ายออกแบบและพิสูจน์อักษร

อาจารย์สุธีรา ธาตรีนรานนท์  อาจารย์เมธาสิทธิ์ อัดดก
นางสาวกันตินันท์ จิตระออน นายอาลี เส็มเภอ   

กำหนดการตีพิมพ์    

ปีละ  2   ฉบับ   

  • ฉบับที่  1  มกราคม - มิถุนายน   
  • ฉบับที่  2  กรกฎาคม - ธันวาคม

พิมพ์ที่      :         บริษัท สำนักพิมพ์สุภา จำกัด 118 ซอย 68 ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0-2435-8530